การพัฒนา คร ยากจน




รายละเอียด
ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๘
ปี
๒๕๕๖
๒๕๕๗
๒๕๕๘
๒๕๕๙
ฐานข้อมูล
๑๐๗
๒๐๕
๗๐
๙๔
ผลการดำเนินงานผ่าน
๙๘
๑๖๗
๕๐
๕๔


วิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงของความยากจน
แยกแต่ละปัญหา   อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
ผลการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผลข้อมูล จปฐ ปี ๒๕๕๙ พบว่าประชากรของอำเภออุทุมพรพิสัย มีรายได้เฉลี่ย ๖๐,๕๘๕  บาทต่อคนต่อปี และมีครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี  ที่เหลือ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ จำนวน  ๓๒ ครัวเรือน มีครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๗๐ ครัวเรือน และมีครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๙๔  ครัวเรือน  รวมครัวเรือนเป้าหมายต้องดำเนินการ  ๙๔ ครัวเรือน จากการตรวจสอบพบว่าในจำนวน ๙๔ ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ในปี ๒๕๕๖ ซ้ำในปี ๒๕๕๗ จำนวน ๒๐ ครัวเรือน  คงเหลือครัวเรือนที่มีรายได้ตกเกณฑ์ จปฐ. เป้าหมายที่ต้องดำเนินการในปี ๒๕๕๘ จำนวน ๙๔ ครัวเรือน    ซึ่งชุดปฏิบัติการตำบลได้ไปเคาะประตูครัวเรือนยากจนเพื่อเก็บข้อมูลค้นหาศักยภาพและส่งเสริมให้ครัวเรือนจัดทำแผนชีวิตในการแก้ไขปัญหา  และจากการวิเคราะห์ศักยภาพของชุดปฏิบัติการตำบลแยกครัวเรือนยากจนประเภทที่ต้องการให้การสงเคราะห์ จำนวน ๓๔ ครัวเรือน และครัวเรือนที่พัฒนาได้ จำนวน ๕๔ ครัวเรือน และจากการบูรณาการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนครัวเรือนยากจนของอำเภอ ทำให้ครัวเรือนยากจนสามารถยกระดับรายได้ผ่านเกณฑ์แล้ว จำนวน ๕๔ ครัวเรือน คงเหลือครัวเรือนยากจนที่จะต้องดำเนินการช่วยเหลือ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน จำนวน ๓๐ ครัวเรือน  โดยปัญหาความยากจนของครัวเรือนดังกล่าว เกิดจากสาเหตุหลักสำคัญ ได้แก่
                   ๑ ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนมีรายได้ไม่แน่นอน
                   ๒  ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนมีปัญหาด้านสุขภาพ คือเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก
                   ๓ ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนขาดแคลนปัจจัยการผลิต ไม่มีที่ดินทำกิน เครื่องมืออุปกรณ์ วัตถุดินในการประกอบอาชีพของครัวเรือนยากจน
                   ๔ ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนขาดเงินทุน
                   ๕ ปัญหามีภาระต้องเลี้ยงดูสมาชิกในครัวเรือนจำนวนมาก
                   ๖ ปัญหามีภาระหนี้สินในครัวเรือน
                   ๗ ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนไม่มีอาชีพ   
  
วิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มปัญหาความยากจน
                   ๑  ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนมีรายได้ไม่แน่นอน
                   ๒  ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนมีปัญหาด้านสุขภาพ
                   ๓ ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนขาดแคลนปัจจัยการผลิต
                   ๔ ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนขาดเงินทุน
                   ๕ ปัญหามีภาระต้องเลี้ยงดูสมาชิกในครัวเรือนจำนวนมาก
                   ๖ ปัญหามีภาระหนี้สินในครัวเรือน
                   ๗ ปัญหาสมาชิกในครัวเรือนไม่มีอาชีพ   
การจำแนกตามประเภทและสถานะครัวเรือนยากจน
 ครัวเรือนที่สามารถพัฒนาตนเองได้         จำนวน  ๕๔ ครัวเรือน
 ครัวเรือนที่สมควรได้รับการสงเคราะห์      จำนวน  ๓๔ ครัวเรือน
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
ปัญหา/อุปสรรค
๑ เรื่องของ  ปัจเจกของครัวเรือน  ทุกครัวเรือนต่างมีความต้องการที่จะเพิ่มรายได้และต้องการจะหลุดพ้นจากความยากจน แต่ด้วยสถานการณ์และบริบทของแต่ละครัวเรือนที่แตกต่างกันทำให้มีอุปสรรคและข้อจำกัดไม่เหมือนกัน ข้อจำกัดเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละครัวเรือน เช่น การมีคนพิการหรือสติฟั่นเฟืองในครัวเรือน ด้อยการศึกษา สุขภาพอ่อนแอ ติดยาเสพติด ขาดความมั่นใจ ขาดข้อมูลและเครือข่าย
๒ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้ตกในสภาพความยากจน เริ่มตั้งแต่ แรงบันดาลใจ ค่านิยมและความเชื่อของแต่ละบุคคล ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ พิการ ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ด้อยการศึกษา
๓ ปัจจัยเสียงในระดับพื้นที่ มีผลต่อเศรษฐกิจของครัวเรือนยากจน เช่น สภาพแห้งแล้ง ขาดน้ำ ขาดปัจจัยในการทำอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
๔ มีครัวเรือนยากจนที่เป็นครัวเรือนยากจนซ้ำซาก เนื่องจากบริบทของแต่ละครัวเรือน เป็นครัวเรือนที่ไม่มีศักยภาพในการพัฒนา ต้องได้รับการสงเคราะห์เนื่องจากในครัวเรือนไม่มีคนวัยทำงาน หรือมีเฉพาะคนชรา / พิการ
แนวโน้มสถานการณ์ความยากจนของอำเภออุทุมพรพิสัย
อำเภออุทุมพรพิสัย ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยใช้ ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ) เป็นกลไกในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน และบูรณาการทำงานกับหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วนร่วมกับชุมชนและใช้พื้นทีเป็นศูนย์กลางการทำงานเชิงบูรณาการเป้าหมายคือครัวเรือนยากจน

เป้าหมายการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาความยากจนใน ๒ ระดับ
๑ ระดับครัวเรือน  ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตดี ผ่านเกณฑ์ จปฐ และมีความสุข
๒ ระดับชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
         
หน่วยงานให้การสนับสนุนบูรณาการ
          ๑ ปกครองอำเภออุทุมพรพิสัยโดยนายอำเภอ  และกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต ของอำเภออุทุมพรพิสัย สนับสนุนถุงยังชีพให้ครัวเรือนยากจนเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคในครัวเรือน   จำนวน ๕๐ ครัวเรือน  งบประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาท
          ๒ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภออุทุมพรพิสัย สมทบงบประมาณในการสนับสนุนถุงยังชีพช่วยครัวเรือนยากจน   งบประมาณ ๑๘,๓๗๕ บาท
          ๓ ศูนย์พัฒนาสังคมที่ ๕๔ จังหวัดศรีสะเกษ  สนับสนุนผ้าห่มให้กับครัวเรือนจำนวน ๑๐๐ ครัวเรือน ๑๐๐ ผืน งบประมาณ ๑๐,๐๐๐  บาท 
          ๔ สำนักงานเกษตรอำเภอสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชให้กับครัวเรือนยากจน จำนวน  ๗ ครัวเรือน  งบประมาณ  ๗,๐๐๐ บาท
          ๕ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนอำเภอฯ(ศจพ.อ) สนับสนุนพันธุ์มะนาวแป้น พันธุ์แค พันธุ์มะละกอ และน้ำยาล้างจาน งบประมาณ  ๑๑,๘๘๕ บาท
          ๖ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ เครือข่ายองค์กรชุมชน  หน่วยงานราชการในอำเภอและพี่น้องปร ะชาชนในอำเภออุทุมพรพิสัย  ซ่อมแซมบ้านให้กับครัวเรือนยากจน  จำนวน  ๙ ครัวเรือน เงิน ๒๙๐,๐๐๐ บาท
          ๗  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้กับครัวเรือน เป้าหมาย   จำนวน  ๓๖  ครัวเรือน  เงิน ๒๓,๔๐๐ บาทต่อเดือน
          ๘ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๕๓ ให้ความรู้การปลูกพืชเพื่อใช้ในครัวเรือน
          ๙ สาธารณสุขอำเภอให้ความรู้ด้านการรักษาสุขภาพอนามัยแก่ครัวเรือน
ยากจนที่เป็นผู้สูงอายุ 
          ๑๐ ปศุสัตว์อำเภอให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ และ เลี้ยงสัตว์
๑๑ กศน. อำเภอให้ความรู้เรื่องการปลุกพืชปลอดสารพิษ การทำแหนมหมู
๑๒ บุคคลต้นแบบทีดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ความรู้เรื่องการทำ
อาชีพเกษตรแบบผสมผสาน ไร่นาสวนผสม
          ๑๓ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ  มอบเงินสงเคราะห์ครัวเรือนผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๒๒ ครัวเรือนๆละ ๒,๐๐๐ บาท เป็นเงิน  ๔๔,๐๐๐ บาท
ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน อำเภออุทุมพรพิสัย

          ครัวเรือนเป้าหมายที่ดำเนินการ    จำนวน  ๘๘  ครัวเรือน
          เป็นครัวเรือนพร้อมพัฒนาได้        จำนวน ๕๔ ครัวเรือน ผ่านเกณฑ์  ๔๔ ครัวเรือน
          ครัวเรือนที่ต้องสงเคราะห์           จำนวน ๓๔ ครัวเรือน ผ่านเกณฑ์ ๑๐  ครัวเรือน
          ครัวเรือนที่ย้ายออก/ตาย             จำนวน ๖ ครัวเรือน
          รวมผ่านเกณฑ์ จำนวน ๕๔  ครัวเรือน  ยังเหลือต้องดำเนินการต่อ  ๓๐  ครัวเรือน


ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน

ประชุมเตรียมความพร้อมระดับอำเภอ






สร้างความเข้าใจทีมวิทยากรปฏิบัติการแก้จนระดับตำบล





ประชุมบูรณาการโครงการกิจกรรมของครัวเรือน


ติดตามวิเคราะห์ทบการและดูแลชีวิตครัวเรือนยากจน



จัดคลินิกแก้จน








ครัวเรือนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน


                           นายนำพล  ปิ่นแก้ว



      ๑.ชื่อ-สกุล หัวหน้าครัวเรือน นายนำพล  ปิ่นแก้ว  อายุ ๕๖ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๐๔
บ้านพงพรต หมู่ที่ ๑๗ ตำบลหนองห้างอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๒.  สภาพลักษณะที่อยู่อาศัย   ไม่มีบ้านเป็นของตนเอง อาศัยอยู่กับน้องชาย
๓.  อาชีพหลักของครัวเรือน  รับจ้าง      อาชีพรอง      -    
     ๔.  รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน ๑,๓๐๐ บาท/เดือน
     ๕.  มีสมาชิกอาศัยอยู่ร่วมกัน รวม ๒  คน
     ๖. ประเภทครัวเรือน 
ð      มีความพร้อม   สามารถพัฒนาได้

    ๗. ข้อมูล ๔ ท เพื่อใช้ในการพัฒนาครัวเรือน
ð      ทักษะฝีมือแรงงาน  มีฝีมือในการทำการเกษตร
ð      ทัศนะคติ (ต่อชีวิต/การงาน)   เป็นคนสู้ชีวิต ตราบใดมีลมหายใจ
ð      ทรัพยากร  (ที่ดิน/ปัจจัยการผลิต) ที่ของน้องชายในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
ð      ทางออก   (แนวทางแก้ไข)  ยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน
    ๘. ความต้องการในการพัฒนาของครัวเรือน  ต้องการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ปลูกพืชในครัวเรือน


ปัจจัยที่ทำให้สามารถยกระดับครัวเรือนยากจน

๑ ได้รับสนับสนุนไก่พันธ์ุไข่จาก งบพัฒนาอำเภออุทุมพรพิสัย โดยได้ไก่ จำนวน ๑๐ ตัว








๒ ได้รับพันธ์ุมะนาว  พันธ์ุแค เมล็ดพืชผักสวนครัว ปลูกรอบบริเวณบ้านน้องชาย








๓ ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือ จากชุมชนในหมู่บ้านและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น ได้รับผ้าห่ม ได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว  ได้เข้าร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้จน ระดับอำเภอและจังหวัด









ผลการดำเนินงานทำให้นายนำพล  ปิ่นแก้ว ผ่านเกณฑ์คุณภาพชีวิต และข้อมูล จปฐ เรื่องรายได้ ปี ๒๕๕๙ มีรายได้เฉลี่ย ๓๔,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี



ครัวเรือนยากจนต้นแบบจากการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต  จัดทำเข็มทิศชีวิต  บริหารจัดการชีวิต ดูแลชีวิต  อำเภออุทุมพรพิสัย




                      นางสาวบุญเริญ  นนทะศิลา



๑.     หัวหน้าครัวเรือน นางสาวบุญเริญ  นนทะศิลา อายุ ๔๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๓
บ้านพงพรต หมู่ที่ ๑๗ ตำบลหนองห้างอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๒.  สภาพลักษณะที่อยู่อาศัย   เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง หลังคามุงสังกะสี สภาพมั่นคงแข็งแรง
๓.  อาชีพหลักของครัวเรือน  รับจ้าง      อาชีพรอง      -     
     ๔.  รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน ๑,๓๐๐ บาท/เดือน จากรับจ้างทำงานบ้านให้กับคนในหมู่บ้าน
     ๕.  มีสมาชิกอาศัยอยู่ร่วมกัน รวม ๔  คน ต้องดูแลหลานซึ่งนำมาเลี่ยงตั้งแต่เล็กๆ
     ๖. ประเภทครัวเรือน 
ð      มีความพร้อม   สามารถพัฒนาได้
ð      ต้องการให้ทางราชการ สงเคราะห์ครอบครัวเบื้องต้น
    ๗. ข้อมูล ๔ ท เพื่อใช้ในการพัฒนาครัวเรือน
ð      ทักษะฝีมือแรงงาน  สามารถทำงานบ้าน รับจ้างในหมู่บ้าน
ð      ทัศนะคติ (ต่อชีวิต/การงาน)    ชีวิตก็ต้องสู้
ð     














ð      ทางออก   (แนวทางแก้ไข)  ประหยัด ยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน


      ๘. ความต้องการในการพัฒนาของครัวเรือน  ต้องการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน ปลูกพืชผักสวนครัว

ปัจจัยที่ทำให้สามารถยกระดับครัวเรือนยากจน

๑ ได้รับสนับสนุนไก่พันธ์ุไข่จาก งบพัฒนาอำเภออุทุมพรพิสัย โดยได้ไก่ จำนวน ๑๐ ตัว


๒ ได้รับพันธ์ุมะนาว  พันธ์ุแค เมล็ดพืชผักสวนครัว ปลูกรอบบริเวณบ้าน


๓ ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือ จากชุมชนในหมู่บ้านและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น ได้รับผ้าห่ม ได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว  ได้เข้าร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้จน ระดับอำเภอและจังหวัด


ผลการดำเนินงานทำให้ นางสาวบุญเริง นนทะศิลา ผ่านเกณฑ์คุณภาพชีวิต และข้อมูล จปฐ เรื่องรายได้ ปี ๒๕๕๙ มีรายได้เฉลี่ย ๓๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี